กาพย์ยานี 11
กาพย์ยานี 11 เป็นกาพย์ที่แต่งง่าย มีลีลาการอ่านช้า ๆ อ่อนหวาน มักใช้แต่งพรรณนาชมความงดงามของสิ่งของ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม มักนิยมแต่งคู่กับโคลง โดยขึ้นต้นด้วยโคลง แล้วต่อด้วยกาพย์ยานี 11 อีกหลายบทที่มีเนื้อหาตรงกันกับโคลง เรียกว่า กาพย์ห่อโคลง
กาพย์ยานี 11 มีลักษณะฉันทลักษณ์ ดังนี้
1) คณะ กาพย์ยานี 1 บท มี 2 บาท 1 บาท มี 2 วรรค วรรคหน้ามี 5 คำ วรรคหลังมี 6 คำ รวม 1 บาท มี 11 คำ บาทแรกเรียกว่า บาทเอก บาทสองเรียกว่า บาทโท
2) พยางค์หรือจำนวนคำ ในวรรคแรกมี 5 คำ วรรคหลังมี 6 คำ เหมือนกันทั้งบาทเอกและบาทโท รวม 1 บาท มี 11 คำ จำนวนตัวเลขที่บอกไว้ท้ายกาพย์ หมายถึง กำหนดจำนวนคำ
ใน 1 บาท เช่น ยานี 11 หนึ่งบาท มี 11 คำ
3) เสียง คำสุดท้ายของบาทโทใช้เสียงรรณยุกต์สามัญและจัตวาเป็นส่วนใหญ่เพราะจะทำให้อ่านได้ไพเราะ ส่วนคำสุดท้ายของบทผู้แต่งมักหลีกเลียงไม่ใช้คำตายและคำที่มีรูปวรรณยุกต์ อาจมีที่ใช้คำตายเสียงตรีหรือเสียงเอกบ้างแต่น้อยมาก
4) สัมผัส กำหนดสัมผัสระหว่างรรค 2 แห่ง และสัมผัสระหว่างบท 1 แห่ง ดังนี้
สัมผัสระหว่างวรรค คำท้ายของวรรคหน้าสัมผัสกับคำที่ 1, 2 หรือ 3 ของวรรคหลังในบาทเอก คำท้ายของบาทเอกสัมผัสกับคำท้ายของวรรคหน้าของบาทโท
สัมผัลระหว่างบท คำท้ายของบทแรกสัมผัสกับคำท้ายของบาทเอกบทต่อไป
หลักการแต่งกาพย์ยานี 11 มีดังนี้
1. คำที่รับสัมผัสไม่ใช้คำที่มีเสียงเดียวกับคำที่ส่งสัมผั แม้จะเขียนต่างกัน เช่น สาน-ศาล-สาร
2. ในการแต่งกาพย์ยานี 11 ไม่มีข้อบังคับเสียงรณยุกต์ หรือรูปวรรณยุกต์ แต่ส่วนใหญ่จะนิยมใช้เสียงวรรณยุกต์สามัญและจัตวาในคำสุดท้ายของบาทโท เสียงตรี เสียงเอก ก็มีบ้างแต่ไม่ค่อยนิยมคำสุดท้ายของบท ไม่นิยมใช้คำตายหรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์
3. กาพย์ยานี 11 เหมาะกับเนื้อหาที่เป็นพรรณาโวหาร เช่น พรรณนาความรู้สึก ความรักและความงาม
4. สัมผัสใน คือ สัมผัสภายในวรรคเป็นสัมผัสไม่บังคับจะมีหรือไม่มีได้ ไม่ถือเป็นข้อบังคับและไม่เคร่งครัดมากนัก แต่ถ้ามีจะทำให้ทำนองของกาพย์ยานี 11 ไพเราะสละสลวยยิ่งขึ้น เช่น
ตัวอย่างการอ่านทำนองเสนาะกาพย์ยานี 11