ภุชงคประยาตฉันท์ 12
ภุชงค์ แปลว่า งู หรือ นาค ประยาต แปลว่า อาการไปหรืออาการเลื้อยของงู ฉันท์ชนิดนี้จึงมีความหมายว่า ฉันท์ที่มีลีลาคล้ายอาการเลื้อยของงู เป็นฉันท์ที่มีทำนองสละสลวย มักใช้แต่งกับเนื้อหาที่มีการต่อสู้ บทสดุดี บทชมความงาม บทถวายพระพร และบทสนุกสนาน คึกคัก ร่าเริง อีกทั้งยังใช้แต่งบรรยายความให้รวดเร็วได้ ซึ่งมีผู้นิยมแต่งกันอย่างแพร่หลายไม่แพ้อินทรวิเชียรฉันท์ มีลักษณะบังคับ ดังนี้
1) คณะ ได้แก่ 1 บท มี 2 บาท 1 บาท มี 2 วรรค 1 วรรค มี 6 คำ
2) สัมผัส
1. คำสุดท้ายของวรรคแรก สัมผัสกับคำที่ 3 ของวรรคที่ 2
2. คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 3
3. ถ้าแต่งหลายบท จะต้องมีสัมผัสระหว่างบท คือ คำสุดท้ายของบทแรกสัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่ 2 ของบทต่อไป
3) ครุ ลหุ ในแต่ละวรรคจะมีครุ 4 คำ และ ลหุ 2 คำ