โคลงสี่สุภาพ
การแต่งโคลงสี่สุภาพ
ลักษณะบังคับของโคลงสี่สุภาพ
1) คณะ คือกลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะตรงตามรูปแบบฉันลักษณ์ของร้อยกรองแต่ละประเภท โคลงสี่สุภาพหนึ่งบทมี 1 บาท บาทหนึ่งมี 6 วรรค วรรคหน้ามี 5 คำ วรรคหลังมี 2 คำ ยกเว้นบาทที่ 4 วรรคหลังมี 4 คำ ซึ่งวรรคหลังของบาทที่ 1 และ 3 อาจเพิ่มคำสร้อยได้อีกบาทละ 2 คำ
2) สัมผัสคือคำคล้องจอง ซึ่งช่วยทำให้ร้อยกรองมีท่วงทำนองเสียงที่ร้อยเรียงเกี่ยวเนื่องกัน โดยแบ่งออกเป็น
สัมผัสใน เป็นสัมผัสที่อยู่ภายในวรรคทำให้ร้อยกรองมีความไพเราะ แต่ไม่ถือเป็นข้อบังคับและเป็นได้ทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร
สัมผัสนอก เป็นสัมผัสระหว่างวรรคและระหว่างบท บังคับให้เป็นสัมผัสสระ
สัมผัสบังคับของโคลงสี่สุภาพเป็นสัมผัสสระ กำหนดไว้ดังนี้
คำที่ 7 ของบาทที่ 1 ส่งสัมผัสไปยังคำที่ 5 ของบาทที่ 2 และบาทที่ 3
คำที่ 7 ของบาทที่ 2 ส่งสัมผัสไปยังคำที่ 5 ของบาทที่ 4
3) คำเอก คำโท ในคำประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพจะมีการบังคับคำเอกและคำโทดังนี้
คำเอก คือคำที่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์เอกกำกับอยู่ ไม่กำหนดบังคับว่าคำนั้นจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใด เช่น ก่า ก่อน ค่า นึ่ง อื่น ๆลฯ
คำโท คือ คำที่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์โทกำกับอยู่ ไม่กำหนดบังคับว่าคำนั้นจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใด เช่น กล้า ข้าว ค้า นั้น ฟ้า ฯลฯ
คำประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพกำหนดบังคับคำที่ต้องเป็นคำเอก 7 แห่ง คำโท 4 แห่ง ดังนี้