กาพย์ฉบัง 16
กาพย์ฉบัง 16 เป็นร้อยกรองที่ช้บรรยายความที่รวดเร็ว มีสีลาคึกคัก มีความไพเราะ น้ำเสียงก้องกังวาน แสดงความสง่งามจึงนิยมใช้แต่งร่วมกับคำฉันท์ บรรยายความยิ่งใหญ่อลังการ หรือพรรณนาความโอ่อ่างดงามของบ้านเมือง ปราสาทราชวัง เช่น ฉันท์ยอเกียรติชาวนครราชสีมา ของพระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ สามัคคีเภทคำฉันท์ ของ นายชิต บุรทัต ฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง เป็นต้น โบราณนิยมแต่งกาพย์ฉบัง 16 เพื่อพากย์โขนและบทสวดมนต์ ปัจจุบันนิยมแต่งร่วมกับฉันท์ถวายพระพรในโอกาสต่าง ๆ
กาพย์ฉบัง 16 มีลักษณะฉันทลักษณ์ ดังนี้
1) คณะ กาพย์ฉบัง 16 หนึ่งบท มี 3 วรรค คือ วรรคต้น วรรคกลาง และวรรคท้าย
2) พยางค์หรือจำนวนคำ กาพย์ฉบัง 16 หนึ่งบท มี 3 วรรค วรรคต้นมี 6 คำ วรรคกลางมี 4 คำ และวรรคท้ายมี 6 คำ รวม 3 วรรค มี 16 คำ เท่ากับตัวเลขท้ายชื่อว่ากาพย์ฉบัง 16
3) เสียง นิยมใช้เสียงสามัญและเสียงจัตวาเป็นคำส่งสัมผัสและคำท้ายวรรค
4) สัมผัส กำหนดสัมผัสระหว่างวรรค 1 แห่ง และสัมผัสระหว่างบท 1 แห่ง ดังนี้
สัมผัสระหว่างวรรค คำท้ายวรรคหน้าสัมผัสกับคำท้ายวรรคกลาง
สัมผัสระหว่างบท คำท้ายวรรคสามของบทแรกสัมผัสกับคำท้ายวรรคหน้าของบทต่อไป
หลักการแต่งกาพย์ฉบัง 16 มีดังนี้
1. กาพย์ฉบังมีลีลาคึกคัก โลดโผนและสง่ากว่ากาพย์ยานี โบราณนิยมใช้แต่งบทพากย์โขนบทสวดมนต์ ถ้าเป็นนิยาย นิทานก็ใช้เป็นบทพรรณนาโวหารที่ต้องการให้มีลีลาดังกล่าว ปัจจุบันนิยมใช้เขียนบทสดุดี และบทปลุกใจ
2. คำสุดท้ายของบทมักนิยมใช้เสียงวรรณยุกต์สามัญและจัตวากันมาก ส่วนวรรณยุกต์อื่นไม่นิยมใช้และพบไม่บ่อยนัก ไม่บังคับสัมผัสระหว่างวรรคที่ 2 กับวรรคที่ 3 จะมีหรือไม่มีก็ได้
3. ความไพเราะของกาพย์ฉบังขึ้นอยู่กับเสียงสัมผัสใน นิยมเพิ่มในวรรคเป็นคู่ ๆ ทุกวรรคทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร เช่น