โคลง

การแต่งบทร้อยกรองประเภทโคลง จำเป็นต้องมีความรู้เบื้องต้นในการแต่งทั้งด้านฉันทลักษณ์ที่เป็นข้อบังคับทั่วไปและลักษณะนิยม รวมไปถึงความไพเราะและแนวคิดของบทร้อยกรอง ซึ่งผู้แต่งต้องคำนึงถึงคุณค่าที่จะฝากไว้ให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์และความประทับใจในการอ่านบทร้อยกรอง

ลักษณะโคลง

โคลงเป็นรูปแบบของบทร้อยกรองประเภทหนึ่งที่บังคับคณะ สัมผัส คำเอก คำโท เป็นบทร้อยกรองเก่าแก่ของไทย ปรากฎครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ในลิลิตโองการแช่งน้ำ วรรณคดีเล่มแรกของไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา

โคลง ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 หมายถึง คำประพันธ์ประเภทหนึ่ง

ที่มีจำนวนคำในวรรค สัมผัสและบังคับเอก โท ตามตำราฉันทลักษณ์


ประเภทของโคลง

โคลงจำแนกตามลักษณะทางรูปแบบมี 6 ประเภท คือ โคลงสุภาพและโคลงดั้น เป็นโคลงที่แต่งกันมาแต่เดิม ต่อมาได้มีการแต่งพิ่มลักษณะบังคับพิเศษเปลี่ยนแปลงลักษณะบางอย่าง ทำให้มีโคลงตามลักษณะพิเศษ 2 ประเภท คือ โคลงกระทู้และโคลงกลบท

โคลงสุภาพ แบ่งออกเป็น

1. โคลงสองสุภาพ

2. โคลงสามสุภาพ

3. โคลงสี่สุภาพ

4. โคลงจัตวาทัณฑี

5. โคลงตรีพิธพรรณ


โคลงดั้น แบ่งออกเป็น

1. โคลงสองดั้น

2. โคลงสามดั้น

3. โคลงสี่ดั้น แบ่งออกเป็น 3 ชนิด

3.1 โคลงดั้นบาทกุญชร

3.2 โคลงดั้นวิวิธมาลี

3.3 โคลงดั้นสินธุมาลี


โคลงกระทู้ คือโคลงสี่สุภาพที่แต่งให้มีเนื้อความตามหัวข้อหรือกระทู้ที่ตั้งไว้ โดยใช้กระทู้นั้น

เป็นส่วนนำเนื้อความแต่ละบาท โคลงกระทู้แบ่งตามเนื้อความของกระทู้ได้เป็น 6 ประเภท คือ โคลงกระทู้ความและโคลงกระทู้แผลง แบ่งตามการวางกระทู้ได้เป็น 2 ประเภท คือโคลงกระทู้ความเนื่องและโคลงกระทู้ยืน ถ้าแบ่งตามจำนวนคำหรือพยางค์ของกระทู้ได้เป็น 4 ประเภท คือโคลงกระทู้ 1 คำ โคลงกระทู้ 2 คำ โคลงกระทู้ 3 คำ และโคลงกระทู้ 4 คำ


โคลงกลหรือโคลงกลบท คือโคลงที่เพิ่มบังคับคำพิเศษต่างๆ ลงในแบบรูป แบ่งออกเป็น 2

ชนิด ได้แก่ โคลงกลบทและโคลงกลอักษร